วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

Antoine Henri Becquerel


                       อ็องตวน อ็องรี เบ็กแรล






อ็องตวน อ็องรี เบ็กแรล (ฝรั่งเศสAntoine Henri Becquerel/bekʀɛl/15 ธันวาคม พ.ศ. 2395 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2451นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เกิดในตระกูลที่มีนักวิทยาศาสตร์ถึง 4 รุ่น ตั้งแต่รุ่นปู่จนกระทั่งรุ่นลูก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2446 ร่วมกับปีแยร์ กูรี และมารี กูรี หลังจากที่เขาถึงแก่กรรม ชื่อสกุลของเขาได้กลายเป็นหน่วยวัดกัมมันตภาพ ในระบบหน่วยเอสไอ คือ เบ็กแรล เขียนด้วยสัญลักษณ์ Bq


ชีวิตส่วนตัว


อ็องรี เบ็กแรล เกิดที่กรุงปารีส โดยเป็นบุตรของอาแล็กซ็องดร์-แอดมง เบ็กแรล (Alexandre-Edmond Becquerel) ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทัศนศาสตร์ ไฟฟ้า และแม่เหล็ก อ็องรีได้เข้าเรียนในโรงเรียน เอกอลปอลีแต็กนิก (École Polytechnique) ซึ่งเป็นโรงเรียนช่างฝีมือทหารของฝรั่งเศส และต่อมาก็เข้าเรียนใน เอกอลเดปงเซโชเซ (École des Ponts et Chaussées) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สอนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ในด้านชีวิตครอบครัว อ็องรีสมรสกับหลุยส์ เดซีเร ลอรีเยอ (Louise Désirée Lorieux) มีบุตร 1 คน คือ ฌ็อง เบ็กแรล (Jean Becquerel) ซึ่งก็ได้เป็นนักฟิสิกส์เช่นเดียวกับอ็องรี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2451 อ็องรีได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (Académie des Sciences) และถึงแก่กรรมที่เลอครัวซี (Le Croisic) ในแคว้นเบรอตาญ ในปีเดียวกันกับที่ได้รับเลือก


ชีวิตการงาน และงานวิจัยที่สำคัญ



ในปี พ.ศ. 2435 อ็องรีได้เป็นคนที่สามในตระกูลเบ็กแรล ที่ได้เป็นภัณฑารักษ์ส่วนฟิสิกส์ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติฝรั่งเศส (Muséum National d'Histoire Naturelle) อีกสองปีให้หลัง เขาได้รับตำแหน่งหัวหน้านายช่างประจำกรมการสะพานและทางหลวง

นับจากที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้านายช่าง 2 ปี อ็องรีได้ศึกษาการเรืองแสงอย่างช้า (phosphorescence) ในเกลือยูเรเนียม จนเขาได้พบกัมมันตรังสีเข้าโดยบังเอิญ โดยเขาได้วางโพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต ซึ่งตกทอดมาจากพ่อของเขา ไว้บนฟิล์มถ่ายรูปและวัสดุดำ จากนั้นนำไปตั้งไว้กลางแดด โดยเขาได้อธิบาย ณ ที่ประชุมวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส มีใจความดังนี้
เมื่อหุ้มฟิล์มถ่ายรูปลูมีแยร์ด้วยกระดาษดำหนา ๆ ซึ่งมีสารพวกโบรไมด์คั่นอยู่ ฟิล์มนั้นจะไม่มีลายหมอก แม้ตั้งไว้กลางแดดจ้า เมื่อวางสารนั้น (โพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต) บนกระดาษซึ่งทับห่อนั้น จากนั้นนำไปวางไว้กลางแดด แล้วเอาฟิล์มนั้นมาล้าง จะพบว่ามีลายหมอกเป็นสีดำบนภาพเนกะทีฟ (ภาพที่ยังไม่ได้อัด) เมื่อใดที่เอาวัตถุอื่นใดปกปิดสารนั้น แล้วทดลอง ก็ปรากฏรูปวัตถุนั้น ๆ บนฟิล์ม...ดังนั้นจึงสรุปว่า สารนั้นมีกัมมันตรังสีจริง รังสีนั้นผ่านทะลุกระดาษหนา ๆ ได้ และรีดิวซ์เงินได้



สมาชิก
น.ส.นิสารัตน์ คุปต์ธรรมสาร เลขที่ 14 
น.ส.ปาลีรัฐ สาริปา เลขที่ 16

1 ความคิดเห็น: