วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก(Werner Heisenberg)

เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก(Werner Heisenberg)

              

 

 

 

 

 

 

 เกิดวันที่   5 ธันวาคม ค.ศ.1901 วูร์ซเบิร์ก ประเทศเยอรมัน

                        
เสียชีวิตวันที่  1กุมภาพันธ์ ค.ศ 1976 (74 ปี) มิวนิก ประเทศเยอรมัน
           
เชื้อชาติ   เยอรมัน

สาขาวิชา ฟิสิกส์

สถาบันที่อยู่     มหาวิทยาลัยกอตติงเกน
                         มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
                         University of  Leipzig
                         มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์
                         มหาวิทยาลัยมิวนิก

ผลงาน            หลักความไม่แน่นอน
                        Heisenberg's  microcope
                        กลศาสตร์เมทริกซ์
                        Kramers-Heisenberg formula
                       
 Heisenberg group
                         Isospin

สร้างแรงบันดาลใจกับ        Robert  dopel     
                                           Carl Friedrich  von Weizsacker   

 เกียรติประวัติ          รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี พ.ศ.2475 
                                 เหรียญรางวัลมักซ์ พลังค์ พ.ศ.2476                  เ

หมายเหตุ      แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์กเป็นบิดาของ มาร์ติน ไฮเซนแบร์ก นักประสาทวิทยา และเป็นบุตรของ ออกัสต์ ไฮเซนแบร์ก

ประวัติเวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก(wernersenberg)

แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (เยอรมัน: Werner Heisenberg; 5ธันวาคมพ.ศ.2444-1กุมภาพันธ์พ.ศ.2519) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมันซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วางหลักการพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้คิดค้นหลักความไม่แน่นอนของทฤษฎีควอนตัม
นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสาขาวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ ทฤษฎีสนามควอนตัม และฟิสิกส์อนุภาค
ไฮเซนแบร์ก ร่วมกับมักซ์ บอร์นและ พาสควอล   จอร์แดน  ได้ร่วมกันวางหลักการของ          เมทริกซ์เพื่อใช้ในกลศาสตร์ควอนตัมในปี พ.ศ. 2468 ไฮเซนแบร์กได้รับรางวัลโนเบสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2475
หลังจากที่อดอล์ฟ  อิตเลอร์  ขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ. 2476 ไฮเซนแบร์กก็ถูกสื่อมวลชนโจมตีในฐานะผู้ริเริ่มเคลื่อนไหว deutsche Physik (ฟิสิกส์เยอรมัน) ต่อมาเขาถูกหน่วย Schutzstaffel สอบสวน และกลายเป็นคดีไฮเซนแบร์กโดยกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้สืบทอดของอาร์โนลด์ ซอมเมอร์เฟลด์  แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิก ปี พ.ศ. 2481 เฮนริค ฮิมม์เลอร์ หัวหน้าหน่วย Schutzstaffel จึงได้คลี่คลายคดีนี้ ไฮเซนแบร์กไม่ได้เป็นผู้สืบทอดของซอมเมอร์เฟลด์ และกอบกู้ชื่อเสียงกลับคืนในวงการนักฟิสิกส์ของอาณาจักรไรด์ที่สาม
ปี พ.ศ. 2482โครงการพลังงานนิวเคลียร์ของเยอรมันหรือที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการในชื่อ คลับยูเรเนียม ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของกรมสรรพาวุธแห่งเยอรมนี ครั้นถึง พ.ศ. 2485 การควบคุมโครงการก็ตกอยู่ในมือของสภาวิจัยแห่งไรค์ (Reich Research Council) ตลอดระยะเวลาของโครงการทั้งหมดนี้ ไฮเซนแบร์กเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการ 9 คนที่ดูแลและพัฒนางานวิจัยในโครงการ พ.ศ. 2485 ไฮเซนแบร์กได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายปกครองของ   สถาบันฟิสิกส์ไกเซอร์       วิลเฮล์ม
ไฮเซนแบร์กถูกจับกุมพร้อมนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันรวม 10 คนในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง  ระหว่างปฎิบัติการ Alsos ของสหรัฐอเมริกา เขาถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศอังกฤษตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ถึง มกราคม พ.ศ. 2489
เมื่อไฮเซนแบร์กได้กลับคืนสู่เยอรมนี เขาตั้งรกรากที่เมืองกอตติงเกนในย่านอยู่อาศัยของชาวอังกฤษ และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันฟิสิกส์ไกเซอร์ วิลเฮล์ม ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันฟิสิกส์มักซ์ พลังค์ ไฮเซนแบร์กดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการที่สถาบันแห่งนี้จนกระทั่งสถาบันย้ายไปอยู่เมืองมิวนิกในปี พ.ศ. 2501 เนื่องจากการขยายขอบเขตงานและเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันฟิสิกส์และสถาบันดาราศาสตร์มักซ์  พลังค์เขาได้เป็นผู้อำนวยการร่วมกับ ลุดวิก เบียร์มานน์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นจึงได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันตั้งแต่ พ.ศ. 2503-2513
ไฮเซนแบร์ก ยังได้เป็นประธานสภาวิจัยแห่งเยอรมัน ประธานคณะกรรมาธิการฟิสิกส์อะตอม ประธานคณะทำงานฟิสิกส์นิวเคลียร์ และประธานมูลนิธิอเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮัมโบลด์
ปี พ.ศ. 2500 ไฮเซนแบร์กเป็นผู้ลงนามในคำแถลงการณ์กอตติงเกน(Göttingen Manifesto) ซึ่งเป็นคำประกาศจากนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชั้นแนวหน้าแห่งเยอรมันตะวันตก 18 คน ที่ต่อต้านการติดอาวุธกองทัพเยอรมันตะวันตกด้วยอาวุธนิงเคลียร์ด้านยุทธวิธี
รางวัลและเกียรติยศ

ไฮเซนแบร์กได้รับรางวัลจำนวนมาก ตัวอย่างดังต่อไปนี้:
  • ดุษฎีบัณฑิตกิติมศักด์ จากมหาวิทยาลัย Bruxelles, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Karlsruhe, และมหาวิทยาลัยบูดาเปสต์
  • Order of Merit of Bavaria
  • Romano  Guardini Prize
  • Grand  Cross for Federal  Service with Star
  • Knight of the Order of Merit (Peace Class)
  • สมาชิกของ Royal Society แห่งลอนดอล
  • สมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งกอตติงเกน, บาวาเรีย, แซกโซนี, ปรัสเซีย, สวีเดน, โรมาเนีย, นอร์เวย์, สเปน, เนเธอร์แลนด์, โรม (Pontifical), สมาคมวิทยาศาสตร์ลีโอโปลดินาแห่งเยอรมัน (Deutsche Akademie der Naturforscher Leopoldina) (Halle), the Accademia dei Lincei (Rome), และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกา
  • พ.ศ. 2475 – รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ "สำหรับการสร้างสรรค์กลศาสตร์ควอนตัมและวิธีการนำไปใช้ ซึ่งเปิดเส้นทางสู่การค้นพบรูปแบบแท้จริงของไฮโดรเจน"
  • พ.ศ. 2476 –เหรียญรางวัลมักซ์  พลังค์ จาก Deutsche Physikalische  Gesellschaftเอกสารอ้างอิง
ที่มา
•http;th.wikipedia.org 
 •http://nobelprize.org
              
ผู้จัดทำนางสาว นภัสสร เจ๊ะสม้อ เลขที่25และนางสาวอมรพรรณ อ่อนหยู่ เลขที่32

2 ความคิดเห็น:

  1. พิมพ์ชื่อผิด....แก้ด้วยค่ะ

    ก๊อปปี้วาง เอาลิงออกด้วย จิ้มๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  2. แก้แล้วคร๊ กิ๋มๆๆ

    ตอบลบ