วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ออยเกน โกลด์ชไตน์ ( Eugen Goldstein )




ออยเกน โกลด์ชไตน์  (5 กันยายน 1850 - 26 ธันวาคม 1930เป็นนักฟิสิกส์เยอรมัน เขาเป็นผู้ทดลองหลอดรังสีแคโทด เป็นผู้ค้นพบรังสีบวกและเป็นผู้ที่ค้นพบโปรตอนเป็นคนแรก

ชีวิต
ออยเกน โกลด์ชไตน์  เกิด 5 กันยายน 1850  กลิวิซ,อัปเปอร์แคว้นซิลีเซีย  ที่รู้จักกันในตอนนี้คือ กลิวิซ ประเทศโปแลนด์     เสียชีวิตวันที่ 25 ธันวาคม 1930 Berlin, Germany เบอร์ลิน, เยอรมนี  สัญชาติ เยอรมัน   เขาศึกษาที่ หอดูดาวเบอร์ลิน Potsdam Observatoryหอทสดัม  ตั้งแต่ 1878 1890  แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในอาชีพของเขาที่หอทสดัม ซึ่งเขาได้กลายเป็นหัวหน้าของส่วน Astrophysical ในปี 1927 

การทำงาน
ในปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)  ออยเกน  โกลด์ชไตน์  ได้ทำการทดลองโดยเจาะรูที่ขั้วแคโทดในหลอดรังสีแคโทด  พบว่าเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดรังสีแคโทดจะมีอนุภาคชนิดหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของรังสีแคโทดผ่านรูของขั้วแคโทด  และทำให้ฉากด้านหลังขั้วแคโทดเรืองแสงได้  โกลด์ชไตน์ได้ตั้งชื่อว่า รังสีแคแนล” (canal ray)  หรือ รังสีบวก” (positive ray)  สมบัติของรังสีบวกมีดังนี้
1.  เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังขั้วแคโทด
2.  เมื่อผ่านรังสีนี้ไปยังสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า  รังสีนี้จะเบี่ยงเบนไปในทิศทางตรงข้ามกับรังสีแคโทด  แสดงว่ารังสีนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก
3.  มีอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่คงที่  ขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สในหลอด  และถ้าเป็นแก๊สไฮโดรเจนรังสีนี้จะมีอัตราส่วนประจุต่อมวลสูงสุด  เรียกอนุภาคบวกในรังสีแคแนลของไฮโดรเจนว่า โปรตอน
4.  มีมวลมากกว่ารังสีแคโทด  เนื่องจากความเร็วในการเคลื่อนที่ต่ำกว่ารังสีแคโทด
การหาค่าประจุต่อมวล e/m ของอนุภาคบวก   โกลด์ชไตน์หาค่า e/m ได้ดังนี้
e/m ของอนุภาคบวกมีค่าไม่คงที่ขึ้นอยู่กับธาตุแต่ละชนิด เพราะอะตอมของก๊าซแต่ละชนิดมีมวลไม่เท่ากัน จึงทำให้ค่าประจุต่อมวลของอนุภาคบวกมีค่าไม่เท่ากัน
สำหรับค่าประจุต่อมวล e/m ของก๊าซไฮโดรเจนหรือโปรตอน จะมีค่าดังนี้
 e/m = 9.58 x 104      คูลอมบ์/กรัม
                มวลของโปรตอน = 1.6 x 10-19 / 9.58 x 104
มวลของโปรตอน = 1.66 x 10-24  g

ผลงาน
- ค้นพบอนุภาคที่เรียกว่า " โปรตอน " ( Proton ) ซึ่งมาจากการทดลองโดยเจาะรูที่รังสีแคโทดและแอโนด แล้วสังเกตภาพที่ฉากเรืองแสง
- คิดคำนวณค้นพบมวลของโปรตอนมีค่าเท่ากับ 1.66 X 10-24 กรัม    และมีประจุเท่ากับ 1.6 X 10-19 คูลอมบ์


ที่มา


                                                                                                                                                                   จัดทำโดย
                                                                                                                                    นางสาว ชนิสรา       โต๊ะหมัด       เลขที่ 22  
                                                                                                                                    นางสาว วชิราภรณ์   แดงสุภา      เลขที่ 28
                                                                                                                                                          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น